น.ส. ปรารถนา หายโศก

น.ส. ปรารถนา  หายโศก
น.ส. ปรารถนา หายโศก

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยในแนวทางศิลปะแบบอุดมคติ

    การอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยในแนวทางศิลปะแบบอุดมคติ
ความคิดและจินตนาการในการถ่ายทอด ที่สังเคราะห์รูปแบบไทยให้เหนือจริงมีปรากในงานนศิลปะโบราณมากมายในภาพเขียนรูปปั้นแกะสลักตลอดจนสถาปัตยกรรมที่เป็น ศิลปะโบราณวัตถุสถาน อันได้แก่ผลงาน 4 รูปแบบคือ
                                   1.1  ศิลปวัตถุ
                                   1.2  โบราณวัตถุ
                                   1.3   ศิลปสถาน
                                   1.4   โบราณสถาน
1.1  ศิลปวัตถุ   ได้แก่  วัตถถุเคลื่อนย้ายได้  มีคุณค่าความงามทางศิลปกรรมสูงส่งลงตัว เป็นผลงานประเภทภาพเขียน อันได้แก่ ผลงานของครูเหมเวชกร  หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤษณ์ ตลอดจนเทวรูปพระสยามเทวาธิราช แมม่พระธรณี พระแม่โพสพ เป็นต้น

1.2  โบราณวัตถุ  ได้แก่  ผลงานสร้างสรรค์ที่มีอายุยาวนานเป็นของเก่าแก่เช่น ถ้วยชามสังคโลก  ถ้วยชามเครื่องเบญจรงค์ 5 สี ยกเคลื่อนย้ายได้ง่าย

  1.3   ศิลปสถาน  เป็นผลงานศิลปะของสิ่งก่อสร้างซ่งมีขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายได้ยาก เช่น พระราชวังบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  พระราชวังบ้านปืน จังหวัดเพชรบุรี

 1.4   โบราณสถาน  ได้แก่  สถานที่อันเก่าแก่ ซากปรักหักพัง ที่ยังคงสภาพอยู่ แต่ไม่มีคุณค่าความงดงามในเชิงศิลปะเพียงพอที่จะเป็นศิลปสถาน แต่ยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น ซากอิบ กำแพงเมืองเก่าต่าง ๆ ของสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ลพบุรี ทวารวดี เป็นต้น

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

3.การวิเคราะห์ วิจารณ์ ความงามของศิลปะสมัยใหม่

คุณลักษณะแห่งความงาม ความงามเป็นสิ่งที่มองเห็นแล้วชวนยินดีชวนพึงใจ  มีลักษณะสมบูรณ์ เช่นทิวทัศน์ที่งดงาม สาวงาม ชายงาม สิ่งงดงามต่าง ๆได้แก่สีที่สวยงามลวดลายผ้าที่งดงาม คนงาม งามน้ำใจ เป็นต้น สุนทรียะ เกี่ยวกับความนิยมความงาม สุนทรียภาพ ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ ซึ่งแต่ละบุคคลสามารถเข้าใจและความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ และ สุนทรียศาสตร์ เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยศาสตร์แห่งความงามและสิ่งที่งามในธรรมชาติ เช่น ชายหาดที่งดงาม

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทัศนศิลป์ คืออะไร

 





  









 ทัศนศิลป์  (Visual Arts) หมายถึง "ศิลปะที่มองเห็น" หรือศิลปะที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ และรับรู้ชื่นชมได้ด้วยการมองเห็น

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงศิลปะสัมัยใหม่

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

       ประติศาสตร์ศลป์แยกได้เป็น ๒ คำ คือ ประวัติศาสตร์ (History) และ ศิลป์ (Art)
  
ประวัติศาสตร์ (History) หมายถึง วิชาว่าด้วยความเป็นมาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
  
ศิลป์ (Art)  มีความหมายกว้างขวางตามแนวและทัศนะของนักปรัชญาของแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่จะอย่างไรก้ตามเราพอจะสรุปความหมายของศิลปะในแนวกว้าง ๆ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิดและความงาม





วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

๑.ศิลปะกับมนุษย์

๑.๑ มนุษย์กับการสร้างสรรค์
  นับตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติขึ้นมาในโลกนี้ศิลปะกับมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นเพราะในชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาจนถึงเข้านอนในเวลากลางคืน ล้วนต้องอาศัยศิลปะมาสร้างสรรค์ในการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น เช่น ศิลปะในการครองเรือน ศิลปะในการอยู่ร่วมกันในสังคม การนำศิลปะตกแต่งที่อยู่อาศัย การแต่งกายการสร้างสรรค์ภาชนะและบรรจุภัณฑ์อาหารการแต่งสีสันยารักษาโรค รวมทั้งการนำศืลปะไปพัฒนาปัจจัยที่ห้า ได้แก่ การออกแบบยวดยานพาหนะ อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปั้นและหล่อพระพุทธรูป














 การปั้นและการหล่อพระพุทธรูป 
 พระพุทธรูป พุทธศิลป์สูงค่า สัญลักษณ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราชาวพุทธทุกคนกราบไหว้บูชา เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
เกี่ยวกับความเป็นมาของการกำเนิดพระพุทธรูปนั้น ได้มีการค้นพบหลักฐานเป็นศิลปะวัตถุโบราณ ณ ประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจนถึงกับยกเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธรูปที่จะใช้เป็นที่เคารพบูชา มีเพียงปูชนียวัตถุที่สร้างไว้เพื่อสักการะแทน เช่น พระธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นต้น
ต่อมาภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นโดยในครั้งแรกนั้นเป็นฝีมือของช่างชาวกรีก ซึ่งเป็นชนชาติที่เข้ามายึดครองอินเดีย จากการล่าอาณานิคมของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ชาวกรีกเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานด้านปฏิมากรรมเป็นรูปเทพเจ้าต่างๆ เมื่อมาอยู่ในอินเดียเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงสร้างพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ขึ้นมาเพื่อสักการะบูชา
การสร้างพระพุทธรูปมี 2 ขนาด คือ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปขนาดเล็ก พระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตัก 20 นิ้วขึ้นไป จัดว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ โดยมากสร้างไว้เป็นพระประธานในโบสถ์หรือวิหาร แต่กว่าจะออกมาเป็นพระพุทธรูปหนึ่งองค์ให้เราบูชาต้องใช้เวลานานเป็นเดือนเป็นปี เหตุนี้เองช่างทำพระหรือที่เรียกว่าช่างหล่อ จึงต้องเป็นคนที่มีใจรักในงานและมีความอดทนสูง
ด้วยความสลับซับซ้อนของขั้นตอนที่มีมากมายหลากหลาย งานหล่อพระพุทธรูปจึงเป็นปฏิมากรรมที่รวมเอาช่างฝีมือในหมวดช่างสิบหมู่ไว้แทบทุกแขนง ทั้งช่างปั้น ช่างหล่อหรือช่างเททอง ช่างขัดและช่างลงรักปิดทอง โดยมีลำดับการสร้างพระพุทธรูปเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นตอนการปั้นหุ่น  

















   ช่างปั้นโบราณจะใช้ดินเหนียวคุณภาพดีมีสีเหลืองเรียกว่า "ดินขี้งูเหลือม" นวดผสมกับทรายละเอียด โดยการเหยียบให้เข้ากัน จากนั้นจึงเริ่มปั้นส่วนต่างๆ ขึ้นมาเป็นองค์พระ ถ้าเป็นการปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อาจต้องปั้นส่วนต่างๆ ของพระวรกายแยกกัน เช่น นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาท พระกรรณ รัศมี และเม็ดพระศก แล้วจึงนำมาประกอบกันในภายหลัง แล้วตกแต่งองค์พระทั้งด้านนอกและแกนในให้ได้สัดส่วนสวยงามเกลี้ยงเกลาตามศิลปะสมัยนิยม
 เมื่อปั้นหุ่นหรือพิมพ์ได้รูปแล้วก็มาถึงขั้นตอน การเข้าขี้ผึ้ง นับเป็นงานฝีมืออีกอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญอย่างมาก (ขี้ผึ้งทำมาจากรังผึ้งที่ต้มเคี่ยวจนนิ่มติดมือ แล้วนำไปผสมกับยางชันกรองด้วยผ้าขาวบางจนได้เนื้อขี้ผึ้งละเอียด) แช่พิมพ์ในน้ำสักพัก จากนั้นทาดินเหนียวบางๆ ทั้งสองด้านของพิมพ์เพื่อเคลือบให้ผิวดินและทรายเป็นเนื้อเดียวกัน กรอกขี้ผึ้งลงไปในพิมพ์ให้เต็มแล้วเทออกใส่อ่างน้ำ ในกระบวนการนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนจากขี้ผึ้งหลอมละลายมีอานุภาพทำให้มือและนิ้วแดงพองได้ ปั้นขี้ผึ้งที่เทลงอ่างเป็นแท่งกลมยัดลงพิมพ์ให้แน่นที่สุด ใช้มีดเฉือนขี้ผึ้งส่วนเกินออก แช่พิมพ์ลงในน้ำสักพักก็สามารถแกะแบบพระพิมพ์ขี้ผึ้งออกมาได้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ จะใช้วิธีตีลาย คือนำขี้ผึ้งวางบนลายพิมพ์แล้วใช้ไม้รวกบดขี้ผึ้งจนเป็นลายตัดออกมาประกอบกับองค์พระ
ก่อนนำไปหล่อต้องทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งเสียก่อน เพื่อให้เนื้อของแบบพิมพ์เรียบสนิท ที่สำคัญคือช่วยรักษาความชัดเจนของรูปร่างและลวดลายขององค์พระไว้อย่างดีด้วย (ส่วนผสมที่เรียกว่ามูลวัว คือ การนำมูลวัวสดๆ มาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาผสมกับดินนวล) ทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งซ้ำไปซ้ำมา 3 ชั้น ตอกทอยเข้าไปในหุ่นเพื่อรับน้ำหนักให้สมดุลกัน (ทอยส่วนใหญ่มักทำด้วยเหล็ก) หุ่นที่ทามูลวัวเมื่อแห้งดีแล้วนำมาพอกด้วยดินเหนียวผสมทรายให้ทั่วอีกรอบ ก่อนนำออกผึ่งลมหรือตากแดดให้แห้งสนิท
กรรมวิธีต่อไป คือ การเข้าลวด ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญเพราะลวดที่พันรอบหุ่นคือเกราะป้องกันการแตกตัวของดินเมื่อได้รับความร้อน หุ่นพระจะเสียหายและอาจต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่หากดินแตก เมื่อผูกเหล็กเรียบร้อยแล้ว นำดินเหนียวพอกทับแม่พิมพ์อีกครั้งให้มิดลวด ขั้นตอนนี้เรียกว่า ทับปลอก จากนั้นจึงปั้นปากจอกหรือชนวนปิดบริเวณปากทางที่จะเททอง
2. ขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูป

ภาษาช่างเรียกขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูปว่า "การเททอง" หมายถึง การสุมทองหรือหลอมโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ให้ละลายเป็นของเหลวแล้วเทโลหะหรือทองนั้นลงในแม่พิมพ์ การหลอมโลหะนับเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน โดยเฉพาะทองแดงต้องใช้เวลาหลอมละลายไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง การหล่อพระนิยมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงเผาหุ่นและใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหลอมโลหะ ก่อนเททองต้องทำการสุมไฟหุ่นให้ร้อนจัดเพื่อสำรอกขี้ผึ้งที่ปั้นเป็นหุ่นอยู่ภายในหลอมละลายไหลออกมาจากแม่พิมพ์ทางช่องชนวนจนหมด และเผาแม่พิมพ์ต่อไปจนสุกพร้อมที่จะเททองหล่อพระได้
การหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ต้องทำนั่งร้านสำหรับเททอง พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสูงมากๆ จะใช้วิธีหล่อเป็นสองท่อนแล้วนำมาประกบกัน เมื่อเผาแม่พิมพ์ได้ที่ขณะเดียวกับทองที่หลอมในเบ้าละลายดีแล้ว ก็เตรียมยกเบ้าทองไปเทลงในแม่พิมพ์ได้เลย การเททองต้องเทติดต่อกันมิฉะนั้นจะไม่ต่อเป็นเนื้อเดียว
ภายหลังการเททองเสร็จแล้วต้องปล่อยให้ทองในแม่พิมพ์เย็นตัวจึงจะจัดการทุบแม่พิมพ์ดินออกได้ รื้อแก้ลวดที่รัดแม่พิมพ์ออกให้หมด ถอนหรือตัดทอยออกแล้วใช้ตะไบหยาบขัดให้ทั่วทุกมุม พระพุทธรูปสำเร็จก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด

3. ขั้นตอนการขัดแต่งพระพุทธรูป
พระพุทธรูปเมื่อทุบแม่พิมพ์ออกแล้วผิวพื้นขององค์พระจะไม่เรียบ มีคราบเผาไหม้ปรากฏอยู่โดยทั่ว ดังนั้น เมื่อทำการหล่อแล้วจึงต้องมีการขัดแต่งผิวให้มันเงา ขั้นตอนการขัดมันในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องขัดกดจี้กับองค์พระจนผิวเรียบเกลี้ยง จากนั้นเปลี่ยนผ้าขัดเงาให้เป็นผ้าที่มีความนิ่มปุยขัดต่อโดยใช้ยาขัดเงาสีแดงเป็นตัวเพิ่มความแวววาว จากนั้นจึงลงรักปิดทองด้วยการนำองค์พระล้างน้ำให้สะอาดก่อนลงรัก ใช้น้ำรักผสมสมุกบดให้เข้ากันจนข้นแข็งไม่ติดมือ นำน้ำรักมาเกลี่ยให้ทั่วองค์พระปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วัน
เมื่อรักแห้งสนิทขัดอีกครั้งด้วยกระดาษทรายลบสันคมและรอยคลื่นออกให้เกลี้ยงเกลา ล้างน้ำให้สะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อองค์พระแห้งแล้วใช้แปรงจุ่มลงทาให้ทั่ว ผึ่งลมรอจนแห้งแล้วใช้น้ำรักทาทับอีกครั้ง คลุมองค์พระด้วยผ้าชุบน้ำทิ้งไว้ประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วเปิดออกดู เมื่อน้ำรักไม่ติดมือก็ถือว่าใช้ได้ ปิดทองแล้วเกลี่ยให้ทั่วตลอดองค์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็มาถึงพิธีการเบิกพระเนตร สำหรับตาดำนิยมใช้นิลดำทำเป็นรูปทรงไข่ ตาขาวใช้เปลือกหอยมุกไฟ ปอกเปลือกนอกออก แต่งด้วยตะไบแล้วนำไปติดโดยใช้น้ำรักผสมสมุก (ใบตองแห้งเผาแล้วนำมาร่อนจนละเอียด) ตาหนึ่งข้างจะติดที่หัวตา 1 อัน และหางตาอีก 1 อัน ขณะใส่ตานิลต้องท่องคาถาคำว่า "ทิพจักขุ จักขุ ปะถัง อาคุจฉาติ" เป็นอันเสร็จพิธีการปั้นและหล่อพระพุทธรูป

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดบุบผาราม











             
วัดบุบผาราม  ตั้งออยู่เลขที่ 1บ้านน้ำลาว หมู่ที่ 7  ตำบลแม่ลาว  อำเภอเชียงคำ  จังหวัดพะเยา
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน
  อาณาเขต
ทิศเหนือ ประมาฌ 32 วา จดทุ่งนา
ทิศตะวันออก  ประมาฌ 41 วา จดทุ่งนา
ทิศตะวันตก  ประมาฌ 46 วา จดทุ่งวนา
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย  วิหาร และ กุฏิสงฆ์
            วัดบุบผาราม  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2444  ชาวบ้านเรียกว่า วัดน้ำลาว  การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสจำนวน 12 รูป เท่าที่ทราบนาม คือ พระครูไชย  ครูบาสุริยา  พระวงค์  พระเป็ง  พระอธิการติ๊บ 
พระชมพู  พระวัน  พระเลิศ  พระลับ  พระแปลก  พระปั๋น  และเจ้าอธิการโสภณ  จนฺทโชโต